วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 คืออะไร?

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 คืออะไร?
คือน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ที่เกิดจากการผสมระหว่าง น้ำมันเบนซิน 80% กับ แอลกอฮอล์20% (เอทานอล) หรือเรียกโดยย่อว่า E20 โดยรถที่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ E20 จะสามารถใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 95, น้ำมันเบนซินออกเทน 91 และน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์(E10) ได้อีกด้วย
 
   
ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากกาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 คืออะไร?
  1. ความประหยัด เนื่องจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 จะมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 
  2. ราคารถยนต์ถูกลง รถยนต์ที่ผลิตมาเพื่อรองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 จะมีราคาถูกกว่ารถยนต์ทั่วไป เนื่องจากภาษีสรรพสามิตที่ลดลง
ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ด้านเศรษฐกิจ
  • ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านพลังงาน ลดการขาดดุลการค้า โดยทุกลิตรของน้ำมัน E20  สามารถลดการนำเข้าน้ำมันลง 20%
  •  ก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มเติมในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เกิดการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชที่ใช้ผลิตเอทานอล
  • ประหยัดรายจ่ายภาคครัวเรือน เนื่องจากรถยนต์ E20 และน้ำมัน E20 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฯ  จึงทำให้ E20 เป็นน้ำมันเบนซินที่มีราคาถูกที่สุด
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ลดมลพิษทางอากาศ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเอทานอลเป็นผลิตผลธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายได้โดยไม่เกิดมลพิษตกค้าง 
  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อน และวิกฤตการณ์ธรรมชาติแปรปรวน
การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีผลดีอย่างไร และทำไมต้องใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์?
  1. ด้านเครื่องยนต์ ช่วยการเผาไหม้สมบูรณ์ จึงทำให้อัตราเร่งดีขึ้น
  2. ด้านเศรษฐกิจ เอทานอลผลิตจากพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ ที่นำมาผสมกับน้ำมัน เบนซิน เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จึงลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศปีละ 3 พันล้าน ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
  3. ด้านสิ่งแวดล้อม เอทานอลผลิตจากพืชผลทางการเกษตร ช่วยลดมลพิษทางอากาศและแก้ไขปัญหา สภาพแวดล้อม
รถยนต์ที่สามารถใช้ E20 ได้
     รถยนต์ส่วนใหญ่รุ่นที่ผลิตตั้งแต่ปี 2008 จะผลิตให้รองรับน้ำมัน E-20 ได้ อาทิ
1.       HONDA (City-ZX, Civic, Accord, CR-V)
2.       MITSUBISHI (Space Wagon 4G69 MIVEC NA4, EFI)
3.       NISSAN (Teana, Tida)
4.       MAZDA (Mazda 3) 
5.       FORD FOCUS และ FORD ESCAPE 3.0 L ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2005 และรุ่นที่จะออกตามมาในปี 2008
ข้อแตกต่างของแก๊สโซฮอล์ธรรมดา กับ แก๊สโซฮอล์ E20
“ผศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ ประธานสายวิชาพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ว่า ปัจจุบันแก๊สโซฮอล์ ที่มีใช้อยู่ ในประเทศไทยเป็นแก๊สโซฮอล์ E10 ซึ่งมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 10% ด้วยคุณสมบัติหลายประการที่ใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซิน จึงสามารถนำแอลกอฮอล์ มาผสมเพื่อทดแทนส่วนของน้ำมันได้บางส่วน โดยไม่มีผลกระทบต่อ สมรรถนะของรถยนต์มากนัก”
“อย่างไรก็ดี การเพิ่มสัดส่วนของแอลกอฮอล์ ในน้ำมันอีก 10% กลายเป็นแอลกอฮอล์ 20% (ที่ เหลือเป็นน้ำมันเบนซิน 80%) ทำให้คุณสมบัติของเชื้อเพลิงในส่วนที่เป็นองค์ประกอบ ของแอลกอฮอล์ ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันปรากฏมากขึ้น จึงอาจมีปัญหากับเครื่องยนต์และรถบางรุ่น”
“แอลกอฮอล์บริสุทธิ์มีคุณสมบัติเด่นหลายประการที่ต่างจากน้ำมันเบนซิน เช่น จุดเดือด ของแอลกอฮอล์จะต่ำกว่าน้ำมันทำให้มีแรงดันไอมากกว่า ซึ่งจะมีปัญหากับรถบางรุ่น โดยเฉพาะรถรุ่นเก่าที่ใช้คาร์บิวเรเตอร์ที่มีถังน้ำมันติดตั้งห่างจากตัวเครื่องยนต์มากเกินไป หรือรถยนต์ที่มีขนาดของท่อเชื้อเพลิงที่เล็กเกินไป”
“ทำให้แอลกอฮอล์ที่อยู่ในท่อเชื้อเพลิงเปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นไอได้ง่าย เนื่องจากความฝืดของท่อมีมากเกินไป ทำให้มีลักษณะเป็นฟองอยู่ในท่อดูดเชื้อเพลิง”
“ส่งผลให้การหมุนของเครื่องยนต์มีความเร็วรอบไม่สม่ำเสมอ เครื่องจะกระตุกหรือดับ ในบางช่วง นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังมีคุณสมบัติกัดกร่อนสูง ยิ่งสัดส่วนของแอลกอฮอล์ ในน้ำมันมากขึ้น จะยิ่งเพิ่มคุณสมบัติการกัดกร่อนให้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งสามารถกัดกร่อนยาง พลาสติกบางชนิด และโลหะประเภททองเหลือง ทองแดง”
“ดังนั้น รถยนต์ที่มีอะไหล่เป็นยาง หรือโลหะทองเหลือง ทองแดงที่ไม่ได้รับการออกแบบ และผลิตออกมาให้ทนต่อการกัดกร่อนของแอลกอฮอล์เป็นพิเศษ จะไม่สามารถทนต่อ การกัดกร่อนได้ อาจส่งผลให้ท่อส่งน้ำมันไปจนถึงถังน้ำมันเกิดการผุกร่อน จนทะลุได้ภายในระยะเวลาประมาณครึ่งปี-1 ปี”

“ด้วยเหตุนี้รถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อ เพลิงแก๊สโซฮอล์ E20 ได้ จึงต้องเป็นรถที่ผลิตด้วยยาง หรือพลาสติกที่ทนต่อการกัดกร่อนได้ รวมถึงต้องออกแบบองศาการจุดระเบิด ให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิงด้วย เพื่อให้ เชื้อเพลิงสามารถเผาไหม้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด”
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น